Monday, May 27, 2013

ATTITUDE BLOCKED








     เพลงบางเพลง ภาพถ่ายบางรูป หรืองานเขียนบางเรื่องมักมีอิทธิพลต่อเราอย่างมากมายโดยไม่รู้ตัว แตกต่างกันไปตามแต่อารมณ์ของผู้รับสารนั้นๆ 

     และนี่คือบทความในนิตยสารเล่มหนึ่งของไทยเมื่อซักประมาณสี่ห้าปีที่แล้วที่มีอิทธิพลกับตัวผมเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นสิงที่จุดประกายสิ่งสุดท้ายให้กล้าคิดกล้าตัดสินใจ เคารพความเป็นตัวเอง และมีทัศนคติต่อการแต่งกายทั้งของตนเองและของผู้อื่นอย่างไร

     ผมไม่คิดว่าบทความด้านล่างนี้จะมีนัยยะเพียงแค่เรื่องการแต่งกายเพียงเท่านั้น แต่นี่คือการสื่อสารถึงการให้ความสำคัญกับการวางทัศนคติในสิ่งที่ถูกที่ควร เพราะผมเชื่อว่าเมื่อเราวางทัศนคติไว้ในจุดเท่าเหมาะสม เราเองก็จะพบว่าทุกเรื่องเป็นเรื่องสนุกและสร้างสรรค์

     ขอบคุณนามปากกา "เปรู" ที่มอบสาระเชิงเสียดสีเนื้อดีชิ้นนี้ให้กับผมและพวกเรา ขอบคุณที่สอนให้ผมเป็นคนใช้รู้จักใช้ "ทัศนคติ" ถึงเวลาที่ผมจะขอแลกเปลี่ยนทัศนคติกับคนอื่นบ้างแล้วครับ









 
......................

กบแฟชั่น  ขอเชิญออกนอกกะลา [เรื่อง : เปรู]

"เดวิล" จ๋า
ถอด "ปราด้า" บ้างก็ได้

     ค่ำวันหนึ่งดิฉันไปร่วมงานปาร์ตี้เปิดกางเกงยีนส์สุด "ฮิป" มีโอกาสได้กระทบไหล่ดารา นักร้อง แฟนคลับคนดัง รวมถึงกลุ่มไฮโซ-เซเลบฯมากหน้าแบบระยะประชิด ระหว่างจิบเบียร์และเฝ้ารอแฟชั่นโชว์เริ่ม เด็กสาวกลุ่มหนึ่งปรากฎกายใกล้ตัว พวกเธอเริ่มกระบวนการธรรมชาติของผู้หญิงที่อยู่รวมตัวกัน นั่นคือการจับกลุ่ม"เมาธ์"ชนิดสาวๆ Gossip Girl ยั่งหวั่น เริ่มด้วยการตั้งตัวเป็นเจ๊จ่า ตัดสินการแต่งตัวของเหยื่อที่ผ่านไปมาอย่างหิวกระหาย ส่งเสียงเรียกคนนั้น-คนนี้ว่า "เด็กแนว" พร้อมหัวเราะคิกคักจนคอหด แบบที่ไม่ต้องหันไปมองยังรู้ว่าเย้ยหยัน คำติฉินที่พร่ำถี่ขึ้นเรื่อยๆ ยั่วยุให้ดิฉันหันหน้าหาพวกเธอ ในใจขอนึกว่าขอพิจารณาหน่อยเถอะ ขอดูว่าพวกเธอแตกต่างอย่างไรกับเด็กแนวที่เธอจำกัดความ

     ลุคของพวกเธอไม่ต่างกับผู้ช่วยเบอร์หนึ่งของมิแรนด้าใน The Devil Wears Prada หรือสาวๆใน Gossip Girl เสื้อผ้าดำทะมึนปนระยิบระยับพะบอกราคาเรือนแสน กระเป๋าแบรนด์หรู รองเท้าหลักหมื่น เซ็ตผมหยิกลอนนุ่มฟู (เหมือนกันทั้งกลุ่ม) ในมือมีแบล็คเบอร์รี่คนละเครื่อง จริงๆ ดิฉันว่าพวกเธอก็ดูสวยดี แต่...เท่าที่จำได้ไม่ว่าจะปาร์ตี้งานไหน เดินช้อปปิ้ง หรือจิบกาแฟกินบรันช์ ดิฉันก็เห็นพวกเธอแต่งตัวลักษณะนี้ "ทุกครั้ง" และเมื่อพิจารณาร่วมกับความคิดที่คอยตัดสินการแต่งตัวที่แตกต่างของคนอื่นแล้ว ขอเปลี่ยนความสวย 80% เป็นคะแนนติดลบแทนแล้วกัน

     เสียดายที่ไม่ได้สนิทกับสาวๆ กลุ่มนี้เป็นการส่วนตัว จึงไม่มีโอกาสได้ตั้งคำถามว่า เมื่อวานนี้เด็กแนวที่คุณกำลังตัดสิน อาจแต่งตัวแรงชนิดที่มิแรนด้า "เดวิล" ตัวจริงต้องถอดปราด้าแก้เขิน แล้วพวกคุณที่ไม่ใช่ "เด็กแนว" ไม่คิดจะลองเป็น "เด็กแนว" บ้างหรือ

     สำหรับดิฉัน การแต่งกายควรจะเป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องสร้างสรรค์มากกว่าจะมานั่งเครียดหรือเดียดฉันท์กันด้วยการสร้างลุค สร้างสไตล์ที่ตายตัวไปวันๆ

     ขอคาดว่าสาวๆ กลุ่มนี้เริ่มต้นแต่งตัวด้วยความ "ไม่เข้าใจ"

  • ไม่เข้าใจว่าลุคการแต่งตัวที่ไม่ได้อยู่ในกระแส เข้าท่าอย่างไร
  • ไม่เข้าใจว่ารองเท้าส้นสูงหรือกระเป๋าลิมิเต็ด เอดิชั่น ไม่ใช่สิ่งบอกสถานทะทางสังคมเสมอไป
  • ไม่เข้าใจว่าค็อกเทลเดรสไม่ได้เหมาะกับทุกงาน
  • ไม่เข้าใจว่าโลกใบนี้มีมากกว่าสองด้าน ทั้งๆ ที่โลกนี้...เป็น "สามมิติ" (ทางเลือกที่สามย่อมมีอยู่เสมอ)
  • และไม่เข้าใจว่าทำไม Marc Jacobs ถึงลุกมาใส่กระโปรง?
     เมื่อไม่เข้าใจ จึงตราหน้าว่าสิ่งเหล่านั้นว่า "ผิด" ตราหน้าว่าไม่ได้มาตรฐาน ผลถัดมาคือการบล็อกความคิด   จำกัดไอเดียการแต่งตัวและกลายเป็นแฟชั่นกบในกะลาโดยไม่รู้ตัว...น่าเสียดายจริงๆ

    "ชอบจังแต่ฉันไม่ใช่"

     ค่ำวันถัดมา ดิฉันไปงานปาร์ตี้วันเกิดเพื่อนศิลปินอินดี้ ในงานได้เจอสาวรุ่นวัย 22 คนหนึ่ง เธอสวมกางเกงขาสั้นกับเสื้อยืดทับด้วยเสื้อกั๊กแบบพอน่ารัก หลังพูดคุยกันจนไวน์แก้วที่สามเริ่มออกรส เธอก็เริ่มจ้อถึงผู้คนในงาน ชี้นิ้วบุ้ยบ้ายไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งสวมเดรสวินเทจทับด้วยแจ็คเก็ตตัวสั้น กับสร้อยคอไข่มุกแผงหนา แถมยังสวมถุงเท้ากับรองเท้าส้นสูงอีกด้วย สาวรุ่นส่งประกายสายตาชื่นชม เธอพร่ำว่า "ชอบจัง อยากแต่งตัวแบบนั้นมาก ดูแนวดี"

     ดิฉันตั้งคำถามกลับไปว่า "อ้าว ชอบแล้วทำไมไม่ลองใส่"
     "หนูไม่ใช่เด็กแนว" เธอตอบ
     "อธิบายคำว่าเด็กแนวให้ฟังหน่อย"  ดิฉันสงสัยในความหมายของคำนี้แบบจริงจัง
     เธอตอบดิฉันไม่ได้คะ ได้แต่อ้ำอึ้งว่าแต่งไม่ได้ 

     ในภายหลังดิฉันจึงได้เข้าใจว่า "แนว" ของเธอหมายถึงการแต่งตัวที่แตกต่าง รูปแบบที่ไม่เข้าพวกกับใครๆ รูปแบบที่เธอคาดไม่ถึงว่าจะหยิบมาแต่งได้อย่างไร และเธอกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์จากเพื่อนฝูงที่ไม่ได้แต่งตัว "แนว" แบบนั้น ดิฉันจึงยิงคำถามใหม่ว่า แวบแรกที่เธอเห็นการแต่งตัวของผู้หญิงคนนั้นแล้วรู้สึกอย่างไร

      "น่ารักดีคะ" เธอตอบ


      นั่นละค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าการแต่งตัวน่าจะมีเพียงแค่คำว่า "สวย-น่ารัก" "เหมาะ" และ "ถูกกาลเทศะ" หรือไม่ สังเกตสิคะว่าเสื้อผ้า ready to wear สมัยนี้ต่างตัดเย็บมาให้เราเลือกสวมใส่ตามใจชอบ เสื้อผ้าที่เคต มอสออกแบบก็ไม่จำเป็นต้องใส่ให้เป็นเคต มอส เสื้อผ้าที่วิเวียน เวสต์วูดออกแบบก็ไม่จำเป็นต้องแต่งออกมาเป็นมินิเวสต์วูดกันทั้งถนน ลุคบนรันเวย์เป็นการนำเสนอแบบหนึ่ง คอสตูมในหนังในซีรีส์ก็มีไว้เพื่อบอกคาแร็กเตอร์ของตัวละครเท่านั้น

      ขอเพียงคุณจับความรู้สึกของเสื้อผ้าและเครื่องประดับได้ ไม่ว่าจะหยิบจับชิ้นที่เปรี้ยวจี๊ดประหลาดล้ำ หวานจ๋อย หรือซูเปร์คลาสซี่มาแต่งอย่างไร คาแร็กเตอร์และความเป็นตัวคุณก็ไม่หายไปไหน และจะไม่มีคำว่า "แนว" หรือคำใดๆมาจำกัดกรอบการแต่งตัวของคุณไว้

     แนะนำว่าให้ลองเปิดใจกว้าง เลิกยึดติดกับลุคใดลุคหนึ่ง หยุดคิดเพียงว่าแบบนั้นไม่ใช่ตัวฉัน ไม่ใช่สังคมของฉัน  จนกว่าจะได้ลองสวมใส่สักครั้งอย่าง...

     ไร้ขีดจำกัด











Saturday, May 11, 2013

BRONZE Is The New Black !!!




















It's NOT RIGHT
... But it's OK !!!


 
 
Throughout history, tanning has gone in and out of fashion. In Western countries before about the 1920s, tanned skin was associated with the lower classes, because they worked outdoors and were exposed to the sun. Women went to great lengths to preserve pallid skin, as a sign of their "refinement".
Women's outdoor clothing styles were tailored to protect against sun exposure, with full length sleeves, and sunbonnets and other large hats, headscarves, and parasol shielding the head. Women even went as far as to put lead-based cosmetics on their skin to artificially whiten their skin tone. However, when not strictly monitored these cosmetics caused lead poisoning. Achieving a light-skinned appearance was achieved in other ways, including the use of arsenic to whiten skin, and lightening powders. The preference for fair-skin continued until the end of the Victorian era.
By the early 20th century the therapeutic benefits of sunlight began to be recognised. In 1903, Niels Finsen was awarded the Nobel Prize in medicine for his “Finsen Light Therapy”. The therapy was a cure for diseases such as lupus vulgaris and rickets. Vitamin D deficiency was found to be a cause of rickets disease, and exposure to the sun would allow vitamin D to be produced in a person. Therefore, sun exposure was a remedy to curing several diseases, especially rickets. In 1910 a scientific expedition went to the island of Tenerife to test the wider health benefits of 'heliotherapy’, and by 1913 'sunbathing' was referred to as a desirable activity for the leisured class.
Shortly thereafter, in the 1920s, fashion-designer Coco Chanel accidentally got sunburnt while visiting the French Riviera. When she arrived home, she arrived with a suntan and her fans apparently liked the look and started to adopt darker skin tones themselves. Tanned skin became a trend partly because of Coco’s status and the longing for her lifestyle by other members of society. In addition, Parisians fell in love with Josephine Baker, a “caramel-skinned” singer in Paris, and idolised her dark skin. These two women were leading figures of the transformation tanned skin underwent, in which it became perceived as fashionable, healthy, and luxurious. Jean Patou capitalised on the new tanning fad launching the first suntan oil "Huile de Chaldee" in 1927
Just before the 1930's Sun therapy became a very popular subscribed cure for almost everything from simple fatigue to tuberculosis.
In the 1940s, advertisements started appearing in women’s magazines which encouraged sun bathing. At the same time, swimsuits' skin coverage began decreasing, with the bikini radically changing swimsuit style after it made its appearance in 1946. In the 1950s, many people used baby oil as a method to increase tanning. The first self-tanner came about in the same decade and was known as “Man-Tan,” although it often led to undesirable orange skin. Coppertone, in 1953, marketed their sunscreen by placing a little blond girl and her cocker spaniel tugging on her bathing suit bottoms on the cover of their bottles; this is still the same advertisement used today. In the latter part of the 1950s, silver metallic UV reflectors were common to enhance one’s tan.
In 1962, sunscreen commenced to be SPF rated, although in the US SPF labeling was not standardised by the FDA until 1978. In 1971, Mattel introduced Malibu Barbie, which had tanned skin, sunglasses, and her very own bottle of sun tanning lotion. In 1978, both sunscreen with an SPF 15 rating as well as tanning beds first appeared. Today there are an estimated 50,000 outlets for tanning, whereas in the 1990s there were only around 10,000. The tanning business is a five-billion dollar industry in the United States.
In China, darker skin is still considered by many to be the mark of the lower classes. As recently as 2012, in some parts of China, ski masks were becoming popular items to wear at the beach in order to protect the wearer's face from the effects of the sun.